วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ประวัติโรงพยาบาลราชบุรี

โรงพยาบาลราชบุรีเป็นโรงพยาบาลศูนย์ขนาด 855 เตียง (ไม่รวม ICU 40 เตียง) ตั้งอยู่เลขที่ 85/1 ถนนสมบูรณ์กุล ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี อยู่ทางทิศตะวันตกห่างจากกรุงเทพมหานคร 100 กิโลเมตร แต่เดิมเทศบาลเมืองราชบุรีเป็นผู้สร้างขึ้นได้เปิดการครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2484 นายแพทย์ทนง วิริยะชาติ เป็นผู้อำนวยการท่านแรก อาคารสถานที่ประกอบด้วยตึกอำนวยการ เรือนรับผู้ป่วย 25 เตียง บ้านพักแพทย์และโรงครัวอย่างละ 1 หลัง บุคลากรทำงานประจำประกอบด้วยแทย์ 1 คน พยาบาลและเจ้าหน้าที่อื่นๆ รวม 8 คน ตลอดระยัเวลา 68 ปีที่ผ่านมาโรงพยาบาลราชบุรีได้พัฒนาคุณภาพบริการอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันภายใต้กราอำนวยการของนายแพทย์จินดา แอกทอง ได้รับการพัฒนาในทุกๆ ด้านรวมทั้งมีการพัฒนาระบบการให้บริการเชิงรุก ที่เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนตามเป้าประสงค์การพัฒนาคุณภาพชีวิตและความมั่งคงตามแผนยุทธศาสตร์จังหวัดราชบุรี สามารถตอบสนองนโยบายกระทรวงสาธารณสุขเพื่อเสริมสร้างสุขภาพประชาชนในทุกมิติ
โรงพยาบาลราชบุรีมีพันธกิจในการให้บริการรักษาพยาบาลระดับตติยภมูิชั้นสูง (tertiary care) การกำหนดนโยบายงานและกิจกรรมเป็นไปอย่างมีระบบโดยคณะกรรมต่างๆ แบ่งองค์กรเป็น 7 ฝ่ายและ 20 กลุ่มงานให้บริการผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในตลอด 24 ชั่วโมง มีแพทย์และเจ้าหน้าที่ประจำทำการนอกเวลาราชการครบทุกสาขาวิชา อุปกรณ์
ทางการแพย์ที่ทันสมัย

พันธกิจ
ให้บริการและสนับสนุนการปฏิบัติงานทางวิชาการ การวิจัย การนำเสนอที่เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

วิสัยทัศน์
เป็นผู้นำการผลิตสื่อและการบริการโสตทัศนูปกรณ์เพื่อสนับสนุนด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานในระดับเขต

ขอบเขตหน้าที่ความับผิดชอบ
งานเวชนิทัศน์และโสตทัศนศึกษา เป็นงานที่เกี่ยวกับการผลิต และให้บริการสื่อเพื่อการสนับสนุนการศึกษา การประชาสัมพันธ์ การวิจัยและการเผยแพร่ทางวิชาการทั้งในและนอกโรงพยาบาลโดยเน้นด้านการแพทย์และสาธารณสุขเป็นสำคัญ รวมทั้งสนับสนุนการเรียนการสอนแก่นักศึกษาแพทย์ ศูนย์แพทย์ศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก

เจตจำนง/ความมุ่งหมาย
ผลิตสื่อและให้บริการโสตทัศนูปกรณ์ เพื่อสนันสนุนการศึกษาอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง ประทับใจ

เป้าหมาย
ผู้ขอรับบบริการได้รับผลงานที่รวดเร็ว ถูกต้อง ประทับใจ

ขอบเขตบริการ ให้บริการ
1. งานถ่ยภาพทางการแพทย์ ถ่ยภาพเพื่อเก็บรวมรวมศึกษาลักษณะ Case ที่น่าสนใจหรือติดตามอาการเปลี่ยนแปลงปรียบเทียบระยะเวลาที่ทำการรัักษา หรือเพื่อนำการลงพิม์ในวารสารเผยแพร่ทางวิชาการ รวมทั้งถ่ายภาพกิจกรรมการบริการของหน่วยงานเพื่อเผยแพร่สู่สาธารณชนโดยให้บริการดังนี้
1.1 General Photography เป็นการถ่ายภาพกิจกรรมการให้บริการทางการแพทย์ และสาธารณสุขที่ใช้เพียงความรู้ในการถ่ยภาพทั่วไปเท่านั้น เช่น การถ่ายภาพออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ การถ่ายภาพในชุมชน
1.2 Special Medical Photography เป็นการถ่ายภาพกิจกรรมทางการแพทย์ที่ต้องประยุกต์ความรู้ทางด้านการแพทย์ในการถ่ายทำ เช่น การถ่ยภาพการผ่าตัดต่างๆ การถ่ายภ่พผ่านอุปรณ์ทางการแพทย์ การถ่ายฟิล์ม x-ray ฯลฯ
2. งานศิลป/ออกแบบกราฟิค การออกแบบภาพให้มีความสวยงามและถูกต้องเหมาะสมกับลักษณะงานที่จะนำออกเผยแพร่ สามารถสื่อความหมายต่อการเข้าใจได้ง่าย และน่าติดตาม เช่น โปสเตอร์ ป้ายผ้า ป้ายคัดเอ้าท์ ประดิษฐ์ตัวอักษร เครื่องหมายสัญลักษณ์ต่างๆ รวมทั้งออกแบบและจัดทำเอกาสาร วารสาร โปสเตอร์ แผ่นผับ และการออกแบบเพื่อจัดการนิทัศการ
3. งานนำเสนอและมัลติมีเดีย การผลิตสื่อนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ อาทิ สื่อมัลติมีเดีย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน รวมทั้งการออกแบบหน้าเว็บไซต์ ฯลฯ
4. งานโสตทัศนูปกรณ์ เป็นงานที่เกี่ยวกัยการสรรหาการคัดเลือก การเตรียมพร้อม โสตทัศนูปกรณ์ให้พอเพียงและเหมาะสมกับการใช้งานเพื่อการนำเสนอ หรือการบรรยายรวมทั้งควบคุมการใช้ การบำรุงรักษาที่ถูกต้อง รวมถึงการควบคุมดูแลอุปกร์เครื่องเสียงในห้องประชุม
5. งานโทรทัศน์ทางการศึกษา โดยจัดทำหรือช่วยจัดทำบรรยายการบันทึกเสียง การบันทึกเทปโทรทัศน์และตัดต่อวีดิทัศน์ การอัดสำเนา รวมถึงการถ่ายทอดโทรทัศน์วงจรปิดเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารวิชาการทางการแพทย์ และนันทนาการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น